#เพราะนักรบธุรกิจย่อมมีบาดแผล Ep.1 Pretotype แค่เสียบปลั๊กให้ความคิด: เคล็ดลับความสำเร็จในโลกธุรกิจของคนที่มี Idea และพร้อมจะทำให้เป็นจริง
เวลาที่เรามีไอเดียอะไรสักอย่างและอยากจะลงมือทำออกมาในเชิงธุรกิจ สิ่งแรกที่เรามักจะนึกถึง คือ การทำสินค้าต้นแบบ หรือ Prototype ออกมา เพื่อทดสอบว่า ตรงตามไอเดียที่เราคิดหรือไม่
แต่กระบวนการข้างต้น มักมีข้อจำกัด ทางด้าน เงินลงทุนและเวลา แม้จะเป็นเพียง Prototype แต่หลายไอเดียที่เราคิด ก็ยังต้องใช้เงินทุนไม่น้อยเพื่อทำต้นแบบออกมา ตัวอย่างเช่น ย้อนกลับไปเมื่อ 20ปีที่แล้ว IBM คิดที่จะทำระบบพิมพ์ด้วยเสียง แทนการพิมพ์บนคีย์บอร์ด แต่ ณ ขณะนั้นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ไม่อำนวย แถมต้นทุนในการผลิตยังสูงมาก การทำ Prototypeตัวต้นแบบขึ้นมา จึงไม่คุ้ม เพราะยังไม่แน่ใจด้วยว่า ทำออกมาแล้วจะทำตลาดได้ไหม
ทาง IBM จึงอยากวิจัยตลาดดูก่อนว่า ผู้คนจะมีปฏิกิริยาอย่างไร หากได้พบระบบ พิมพ์ด้วยเสียง พวกเขาจัดทำระบบพิมพ์ด้วยเสียงแบบหลอกว่าเป็น โดยการให้ผู้ที่มีความสามารถในการพิมพ์คีย์บอร์ดตามคำพูดได้อย่างรวดเร็ว ซ่อนไว้ที่อีกห้องหนึ่งแต่ใกล้พอที่จะได้ยินทุกคำพูดที่คนพูดใส่ไมโครโฟนเพื่อเข้าสู่ระบบพิมพ์ ผลปรากฏว่า ผู้ที่เข้ามาทดสอบระบบต่างมีความประทับใจและชื่นชอบระบบนี้มาก อยากให้เกิดขึ้นจริง โดยหารู้ไม่ว่า นี่เป็นเพียง “การจัดฉาก”
แต่การจัดฉากในครั้งนั้น ทำให้ IBM มั่นใจว่า ผลิตภัณฑ์ Speech to Text ที่มีcore function คือ การพูดและพิมพ์อัตโนมัติทางหน้าจอ ที่พวกเขาจะทำออกมาในอนาคต มันเป็นสิ่งที่เรียกว่า “The Right It” โดย IBM ใช้เงินทุนในการสร้างสถานการณ์นี้ไม่มากนัก หากเทียบกับการลงมือทำต้นแบบออกมาเลย
กระบวนการจัดฉากระบบ Sppech to Text ที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น เป็นกระบวนการทำ ภายใต้แนวคิด Fake It Before You Make It โดย Alberto Savoia อดีตผู้บริหารสายวิศวกรรม ผู้อยู่เบื้องหลังระบบ Google Adwords นิยามการทำแบบนี้ก่อนจะผลิตตัวต้นแบบและสินค้าออกมาจริง ว่า Pretotype
Alberto คิดค้นและทดลองใช้ใน Google ตั้งแต่ปี2010 ซึ่งตอนนี้เริ่มแพร่หลายออกมาทั่วโลก แต่ในไทยยังคงมีการพูดถึงในวงแคบ ทั้งที่หากเรามองให้ดี Pretotype ต่างอยู่ในชีวิตประจำวันของเรส และถ้าเราตกผลึกความคิด Pretotypeออกมาได้ จะมีประโยชน์มหาศาลต่อธุรกิจที่เราทำ
“Pretotype ในชีวิตจริงของคนทำธุรกิจ”
ปฏิเสธไม่ได้ว่า พวกเราทุกคนต่างมองหาไอเดียความคิดใหม่ๆในการสร้างธุรกิจอยู่เสมอ ไม่มีข้อยกเว้นทั้งคนมีธุรกิจอยู่แล้วหรือยังไม่มี แต่จากสถิติพบว่า ไอเดียดีดีส่วนใหญ่แม้มีความแปลกใหม่ แม้ลงมือทำออกมาอย่างรวดเร็ว มีความเป็นผู้นำตลาด ณ ขณะนั้น แต่จำนวนที่อยู่รอดไปต่อได้ในโลกธุรกิจมีไม่ถึงครึ่ง เพราะขาดการตอบคำถามพื้นฐาน Is this the right thing to build? สิ่งนี้มันคือสิ่งที่ใช่ ที่เราควรสร้างขึ้นมาไหม? ตั้งแต่แรก หรือหลายรายมีไอเดีย แต่มีข้อจำกัดทางด้านการเงินและเวลาในการทำไอเดียออกมาสู่โลกความจริง ทำให้จอดป้ายตั้งแต่เริ่ม
การทำ Pretotype เพื่อหาฐานเสียงจากกลุ่มเป้าหมายที่จะมาใช้สินค้าหรือบริการจากไอเดียของเรา มาสนับสนุน จึงเป็นสิ่งที่ต้องทำแต่แรก ไม่ใช่เพียงแค่ทำให้ดูน่าตื่นเต้น ในช่วงระยะเวลาสั้นๆของการ Pitching การระดมทุน ที่บรรดา startups นิยมทำ
เราไม่มีทางรู้ได้เลยว่า การที่เราระดมทุนมาได้มาก มันจะตอบคำถามว่า สิ่งนี้คือสิ่งที่ใช่ในแง่ธุรกิจ เพราะคนที่มาระดมทุน อาจจะแค่รู้สึกอยากได้ในช่วงเวลาอันสั้น ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายที่แท้จริง และนี่เป็นที่มาของการล้มหายตายจากจำนวนมากของ “นักขายฝัน” ทั้งที่ชนะการ pitchingและได้รับทุนพอสมควรในเวที startups
เราจะทำ Pretotypeได้อย่างไร?
ผมมีโอกาสได้เรียนรู้แนวคิด PretotypeจากหนังสือPretotype It ของ Alberto ที่เขาตีพิมพ์ออกมาในรูปแบบ Free ebook โดยโฆษณาผ่านเว็บไซต์ของเขาและGoogle เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งของการสร้าง Pretotypeให้กับแนวความคิดที่เขาจะเขียนหนังสือเล่มจริงเพื่ออธิบาย Pretotype and Pretotyping อย่างครบถ้วน (ขณะที่ปมเขียนบทความนี้ หนังสือฉบับจริงของ Alberto ตีพิมพ์ออกมาแล้ว ได้รับความนิยมในวงกว้างเสียด้วย นั่นสือให้เห็นว่า Pretotype ที่เขาทำออกมา ประสบความเร็จ)
ใช่แล้วครับ หากเรามีไอเดีย วิธีแรกในการสร้าง Pretotypeที่เราทำได้เลยคือ โปรโมทและโฆษณาไอเดียนั้น เพื่อดูผลการตอบรับ
เราเริ่มจากลองพูดคุยนำเสนอไอเดียของเราต่อคนใกล้ชิด เพื่อนฝูงของเรา และจดสถิติไว้ว่า จำนวนคนมีปฏิกิริยาในแง่บวกและ จำนวนคนที่เราไปคุย มีจำนวนเท่าไหร่ เพื่อนำมาคิดอัตราส่วนคนที่สนใจ
ลองขยายวงเพิ่มจากคนที่เรารู้จัก ไปในโลกออนไลน์ เว็บบอร์ด, กลุ่มFacebookของคนที่อาจจะมาสนใจไอเดียของเรา เช่น เรามีไอเดียทำแหวนสำหรับผู้มีความเชื่อแบบจีน เราก็ต้องลองไปซาวเสียง สร้างสตอรี่เพื่อสื่อถึงแหวนของเรา ในกลุ่มคนที่สนใจโหราศาสตร์จีน หรือกลุ่มลูกหลานเชื้อสายจีน เนื่องด้วยมีโอกาสสูงกว่ากลุ่มคนทั่วไปที่ไม่ๆด้เกี่ยวข้องใดๆหรือสนใจอะไรในจีนเลย
หากเรามีงบประทาณจำนวนหนึ่ง เราอาจลองสร้างโฆษณาบน Facebookหรือ Google รวมถึงช่องทางอื่นๆ เพื่อดูอัตราการสนใจในไอเดียของเรา ว่า Right หรือไม่ ก็ได้
นอกเหนือจากวิธีที่กล่าวมา การเอาตนเองไปอยู่ในแหล่งคนทำธุรกิจ เช่น กลุ่ม BNI Energy Thailand (ที่ทุกคนกำลังอ่านบทความอยู่ตอนนี้) ก็เป็นหนึ่งในวิธีการทำ Pretotype ที่ง่ายที่สุด เราสามารถเงี่ยหูฟังไอเดียและประสบการณ์การทำธุรกิจของบุคคลอื่น ในขณะเดียวกันเราสามารถปักธงว่า “ฉันคือคนที่ทำธุรกิจหรือผลิตภัณฑ์นี้” ในการพูดคุยสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนนักธุรกิจภายในกลุ่ม ซึ่งเราสามารถสังเกต เก็บข้อมูลได้ว่า “สิ่งที่เราจะทำ (แต่ตอนนั้นเรา Fake It Before Make It ไปเรียบร้อยแล้วนะ ว่าเราทำแล้ว) คนฟังมีปฏิกิริยาเช่นไร” แต่วิธีการนี้มีข้อเสียคือ การเข้าร่วมกลุ่มเครือข่ายหรือการสร้าง connection กลุ่มธุรกิจแบบนี้ เราต้องมีธุรกิจหลักที่เราทำอยู่ก่อนแล้ว ถ้าเรายังมีแต่ไอเดีย ไม่เคยทำธุรกิจใดๆ อาจจะเพิ่งจบใหม่ หรือยังเป็นพนักงานประจำ แนะนำให้ค้นหา สัมมนา -อบรมการสร้างธุรกิจ อาทิ อบรมสร้างผู้ประกอบการใหม่ NEC ของกระทรวงอุตสาหกรรม ภายในการอบรม มีกิจกรรมเขียนBusiness model นำเสนอต่อผู้ฝึกสอนและ เพื่อนร่วมการอบรม ซึ่งเราสามารถเก็บ feedback ได้อย่างดี
เมื่อเราใช้ Pretotype จนรู้ได้ว่า Is this the right thing to build? ขั้นตอนต่อไปคือ ลงมือทำจริงให้สำเร็จ อย่าปล่อยให้ Idea is Cheap ( เพราะเราไม่ยอมลงมือทำ) อีกต่อไป…
เขียนโดย ภากร กัทชลี (ปอ อ้ายจง)