ผู้นำแบบไหนที่ใช่สำหรับคุณ?

สำหรับธุรกิจ แล้ว ความเป็นผู้นำนั้นมีผลอย่างมากต่อองค์กรของคุณ เพราะธุรกิจของคุณก็สะท้อนออกมาจากตัวคุณนั่นเอง
.
เคยสงสัยกันไหมครับว่า ทำไมบางองค์กรก็มีผู้นำที่เด็ดขาด บางองค์กรก็ก็มีผู้นำที่ประนีประนอม นุ่มนวล แต่ผู้นำทั้งสององค์กร ก็สามารถพาองค์กรให้ประสบความสำเร็จได้เช่นเดียวกัน คำตอบแบบง่ายๆก็คือ ผู้นำนั้นไม่ได้มีแบบเดียว วันนี้เรามาลองสำรวจกันว่า คุณเป็นผู้นำแบบไหน เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับองค์กรของคุณเองนะครับ
.
🟠ผู้นำประชาธิปไตย Democratic Leadership/Participative Style
ผู้นำแบบประชาธิปไตย หรือ ผู้นำแบบมีส่วนร่วม ผู้นำแบบนี้เน้นการเปิดโอกาสให้คนในองค์กรได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องต่างๆขององค์กร โดยการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมให้เกิดขึ้นมากที่สุด ในการประชุม ผู้นำจะเน้นการเปิดโอกาสให้ทีมงานได้แสดงความคิดเห็นมากที่สุด ถึงแม้ว่าท้ายที่สุดแล้วเขาอาจจะตัดสินใจด้วยตัวเอง หรือจะตัดสินด้วยการโหวตก็ได้ ผู้นำแบบนี้เหมาะสำหรับองค์กรที่ต้องการความคิดสร้างสรรค์ และความเห็นที่หลากหลาย เช่นงานCreative งานออกแบบ งานการตลาด

✅ข้อดี ของการนำแบบนี้ก็คือ ทีมงานจะรู้สึกมีส่วนร่วมกับองค์กร รวมถึงสามารถปฏิบัติงานได้เองโดยที่ผู้นำไม่อยู่
❎ส่วนข้อเสียหลักก็คือ เป็นวิธีที่ใช้เวลามาก หลายๆครั้งก็อาจจะทำให้ตัดสินใจได้ช้า ทำให้เกิดประสิทธิภาพไม่สูงนัก
.
🟠ผู้นำเผด็จการ Autocratic Leadership
เหมือนความหมายของชื่อ ผู้นำประเภทนี้ตัดสินใจโดยไม่จำเป็นต้องฟังความเห็นผู้ที่เกี่ยวข้อง มุ่งเน้นไปที่ผลลัพธ์และประสิทธิภาพ คล้าย ๆ กับความคิดแบบทหาร เหมาะกับสถาณการณ์ หรืองานที่ต้องการความรวดเร็ว และกดดัน รวมถึงเหมาะกับทีมงานที่ยังมีประสบการณ์น้อย นอกจากนั้นยังเหมาะกับงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่ทุกคนต้องปฏิบัติตามกฏระเบียบอย่างเคร่งครัด

✅ข้อดีหลัก ของการนำประเภทนี้ก็คือ ความมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว และเหมาะกับสถาณการณ์ที่กดดัน เช่นในภาวะสงครามหรืองานในช่วงที่ใกล้จะถึงเดดไลน์
❎ส่วนข้อเสียก็คือขาดการมีส่วนร่วมของทีมงานทำให้ทีมงาน ร่วมถึงหากผู้นำตัดสินใจผิดพลาดก็มีโอกาสที่จะผิดพลาดได้อย่างรุนแรง
.
🟠ผู้นำมอบอำนาจ hand-off leadership (Sometimes effective)
ผู้นำมอบอำนาจจะเน้นไปที่การให้อำนาจกับทีมงานได้ตัดสินใจกันเอง ผู้นำจะทำเพียงแค่การมอบหมายงาน และให้ความช่วยเหลือทีมงานทางด้านเครื่องมือและทรัพยากร โดยอาจจะให้แนวทางเพียงเล็กน้อยหรือไม่ให้เลยก็ได้ เหมาะกับทีมงานที่มีประสบการณ์สูง ต้องการความอิสระ รู้หน้าที่ของตัวเองแล้ว จะไม่ค่อยเหมาะกับทีมงานที่ยังประสบการณ์ต่ำ

✅ข้อดีหลักก็คือทำให้ผู้นำสามารถจัดสรรเวลาไปกำหนดเรื่องอื่นๆของบริษัทได้ เช่นวิสัยทัศน์ขององค์กร การสร้างสรรค์ธุรกิจใหม่ๆ
.
🟠ผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง “Transformation or Visionary Leadership”
ผู้นำที่สนับสนุนให้ทีมงานพัฒนาและออกจาก comfort Zone เสมอๆ ทำให้ทีมงานเกิดความตื่นเต้นและกระตือรือล้น และต้องพัฒนาทักษะใหม่เสมอ ๆ เหมาะกับบริษัทที่ทำงานเกี่ยวกับTechnology หรือบริษัทที่อยู่ในภาวะคับขันที่ต้องการการเปลี่ยนแปลงเพื่อหา S-Curve ใหม่ขององค์กร

❎ข้อเสียของการผู้นำการเปลี่ยนแปลง ก็คือทำให้ทีมงานเหนื่อยและไม่รู้สึกปลอดภัย หากทำเป็นเวลานานเกินไป ทีมงานอาจจะเกิดภาวะ Burn out ได้
.
🟠ผู้นำแบบโค๊ช Coach-Style Leadership
มีความคล้ายๆกับ Sport team Coach คือเน้นไปที่การมองหาและDevelop จุดแข็ง จุดอ่อนให้กับพนักงานแต่ละคน โดยมองเป้าหมายของทีมเป็นสำคัญ มักมีการออกแบบและวัดผลทีมงานด้วยเกณฑ์ที่แตกต่างกันเพื่อให้พนักงานแต่ละคนดึงความสามารถของตัวเองออกมาได้มากที่สุด

❎ข้อเสียของผู้นำแบบโค๊ชก็คือ เรื่องของเวลา เนื่องจากต้องใช้เวลากับทีมงานแต่ละคนค่อนข้างมาก
.
🟠ผู้นำแบบต่างตอบแทน Transactional Leadership
ผู้นำที่เน้นให้รางวัลแก่ทีมงานตามผลงาน ตัวอย่างเช่นเซลล์ได้Commision จากยอดขาย ข้อดีของการผู้นำแบบTransaction คือ ทีมงานมีความกระตือลือล้นและมีMotivation ที่ชัดเจนจากผลงานของตน การนำแบบนี้เหมาะกับงานที่สามารถวัดผลเป็นตัวเลขได้ชัดเจน เช่นงานขาย แต่ไม่เหมาะกับ งานที่เน้นด้านความคิดสร้างสรรค์ที่วัดเป็นตัวเลขได้ยาก
.
🟠ผู้นำตามตำราหรือผู้นำแบบข้าราชการหรือ Bureaucratic Leadership
ผู้นำตามตำรา เน้นทำงานตามแบบแผนกฏระเบียบที่ได้รับจากบริษัท มักจะเกิดขึ้นในองค์กรใหญ่ๆ ที่มีการวางกฏระเบียบแบบแผนไว้แล้ว ถึงแม้จะมีไอเดียใหม่ๆ ถ้าขัดกับแบบแผนเดิม ๆ ก็จะถูกนำไปปฏิบัติได้ยาก เหมาะกับองค์กรที่เน้นการทำตามระเบียบอย่างเคร่งครัด เน้นความปลอดภัยเป็นหลัก เช่น Finance ,Health care หรือการบิน ไม่เหมาะกับองค์กรที่ต้องการสิ่งใหม่ หรือต้องการการเปลี่ยนแปลง
.
จะเห็นว่าผู้นำแต่ละแบบก็ล้วนมีความเหมาะสมกับแต่ละธุรกิจและจังหวะเวลาที่แตกต่างกัน ไม่มีผู้นำแบบไหนที่ดีกว่าแบบไหนโดยสมบูรณ์ เราล้วนแต่สามารถมองกลับไปแล้วพยายามเลือกบทบาทของเราให้เหมาะสมกับจังหวะเวลาหรือลักษณะองค์กรนั้น ๆ แต่แน่นอนว่าเราไม่สามารถที่จะแสดงบทบาทผู้นำได้ทุกบทบาท ดังนั้นการหาผู้นำแบบอื่นมาเสริมภายในองค์กรในตำแหน่งและเวลาที่เหมาะสมก็เป็นอีกทางเลือกนึงเช่นกัน